ai-animewiki

Ai-animewiki เอไอ-อนิเมะวิกิ เว็บรวมข้อมูลอนิเมชั่นญี่ปุ่นออกใหม่ ข้อมูลเจาะลึกของทุกตัวละคร ไทม์ไลน์ เรื่องย่อ สปอยเนื้อหาแปลไทย มีข้อมูลอ้างอิง ผลงานนักพากย์ บริษัทสร้างอนิเมะ

.
.

รายชื่ออนิเมะที่มีโอกาส สร้างทีวีอนิเมะภาคต่อ

อธิบายตาราง

  • ตารางเรียงตามปี นับตามภาคต่อทางทีวีภาคหลังสุด
  • เรื่องที่มีประกาศภาคต่อแล้ว จะไม่มีในตาราง แบบมีแหล่งยืนยันจริงๆ รวมไว้ในตาราง >> อนิเมะปี 2021+
  • รายละเอียดอื่นๆ ชื่อภาษาไทย เรื่องในปี 2019 – 2020 จะอัพเดตภายหลัง
  • ไม่รวมการ์ตูนเด็ก / SD / การ์ตูนเรื่องยาวบางเรื่อง / ไม่นับมูฟวี่ภาคต่อ
  • ในตารางมีเฉพาะปีล่าสุดที่มีภาคต่อ เช่น SAO จะมีเฉพาะภาคล่าสุดในปี 2020 (รออัพเดตตาราง)
  • บางเรื่องเคยวิเคราะห์ไปแล้ว กดดูรายละเอียดได้ที่ชื่อเรื่อง
  • หาชื่อเรื่องได้จากช่อง Search ด้านล่าง

เหตุผลการพิจารณา

แบ่งเป็นเกรดใหญ่ๆ คือ

  • High – พวกกระแสยังดี แนวโน้มสูง แต่โอกาสจะลดลง ถ้าเงียบไปนานๆ (จะอัพเดตตารางทุกปี)
  • Middle – พวกเพิ่งจบไม่นาน หรือ จบไปหลายปีแต่เคยดังมาก โอกาสยังพอมีราวๆ 20%-40%
  • Low – ในตารางส่วนมากเป็นต่ำ เพราะไม่ค่อยทำภาคต่อกัน จากต้นฉบับที่ทิ้งห่างไปไกล จนไม่มีทางตามทัน โอกาสราวๆ 1%-20%
  • ? – กลุ่มที่ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง
  • ขีด – พวกแทบไม่มีโอกาส เพราะต้นฉบับจบไปแล้ว ซึ่งจากสถิติย้อนหลังแทบไม่มีเรื่องไหนได้ทำต่ออีก ยกเว้นต้นฉบับใกล้จบมากๆ หรือ โปรเจกต์ครบรอบบางอย่าง

สิ่งที่ใช้ในการพิจารณา แพทเทิร์นในรอบ 10-20 ปีที่ผ่านมา ก็เหมือนเดิม ดูได้หลายอย่าง ถ้าเฉพาะตัวหลักๆ ก็ดังนี้

1. พวกเรื่องที่ต้นฉบับจบแล้ว (มีร่วมครึ่งหนึ่งในตาราง) โอกาสทำต่ออาจต่ำกว่า 1% เพราะแทบไม่เคยมี

สังเกตดีๆ ว่าหลังอนิเมะฉาย ถ้าอนิเมะไม่ดัง โอกาสที่ต้นฉบับจะจบใน 6 เดือน – 1 ปี ค่อนข้างสูง (ไม่เชื่อก็ดูในตาราง) ส่วนเรื่องที่ต้นฉบับยังพอขายได้ อาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะยอมจบ

2. ต้นฉบับไปไกลมากๆ โอกาสต่ำลงมาก ถ้ามีอีกซีซั่นส่วนใหญ่ก็มาเพื่อตัดจบให้ลงตัวมากขึ้น เนื้อหาต่างจากต้นฉบับเดิม

3. โปรดักชั่น อนิเมะที่ลากยาวได้หลายตอน หลักๆ เป็นมังงะจาก ชูเอย์ฉะ หรือ โคดันฉะ ที่หาสปอนเซอร์ร่วมง่าย ไม่ก็แนวออริจินัลที่ขาย ของเล่น เกม หรือ การ์ด ที่ทำได้ยาว ถือเป็นข้อยกเว้น พวกบริษัทไลท์โนเวล ต่อให้ในสังกัดคาโดคาวะ ขอสักภาคยังยาก

ส่วนปัจจัยอื่น อย่างพวก ยอดขายแผ่น นิสัยสตูดิโอ ขายของพ่วง กระแสต่างประเทศ ฯลฯ จะอธิบายเพิ่มภายหลัง

สำหรับคนที่ยังงงๆ ว่า ทำไมต้องดูหลายปัจจัย ? อนิเมะเกี่ยวข้องกับเงินสูงกว่าสื่ออื่น การผลิตแค่ 12-13 ตอน ทุนสร้างเป็นหลักร้อยล้านบาท จะทำภาคต่อสักเรื่อง ฝั่งโปรดิวเซอร์กัดฟันรับความเสี่ยงกันไม่น้อย รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากบทความด้านล่าง

ทีวีอนิเมะที่ฉายปี 2010 – 2020

เหตุผลที่ประกาศภาคต่อ “ยาก”

ตลาดอนิเมชั่นในญี่ปุ่นเดาง่ายหน่อย หลายๆ เหตุผลทำให้ “มีเงิน ก็ทำอนิเมะไม่ได้” ถูกตีกรอบไว้ด้วยข้อจำกัดบางประการที่เห็นชัด ซึ่งมาจากหลายปัจจัยในญี่ปุ่นเอง

  • สตูดิโอจำกัด รับงานทีละหลายเรื่องยาก พอขยายบริษัท รับงานเยอะก็คุมคุณภาพไม่ได้ ถ้ามีคิวงานอื่น โอกาสทำภาคต่อก็ลด
  • ต้องมีทีวี (ในขณะที่ประเทศอื่น อย่าง จีน อเมริกา ที่ผลิตอนิเมชั่นได้ เลี่ยงการใช้ทีวี) ซึ่งสล็อตฉายจำกัด รวมทุกเรื่องและซีซั่น อาจถึง 300 เรื่อง แต่ตัดการ์ตูนเด็กออก น่าจะเหลือราวๆ ร้อยกว่าเรื่อง หรือเรื่องน่าดูหน่อยก็ราวๆ 20-30 สล็อตต่อซีซั่น มีโอกาสทำภาคต่อน้อยลง
  • อนิเมะจากนิยายไลท์โนเวล มีสำนักพิมพ์เป็นหนึ่งในโปรดักชั่น (ผู้ออกเงินทุน) โอกาสสูงที่จะเลือกดันเรื่องใหม่ แทนที่จะทำให้เรื่องเก่าจบ
  • (ต่อจากหัวข้อก่อน) เรื่องใหม่มีตลอด แต่สล็อตน้อย โอกาสทำภาคต่อก็น้อย
  • ต้นฉบับส่วนใหญ่ยาวแบบเขียนไปเรื่อยๆ เอาอนิเมะมาโฆษณา การทำอนิเมะตามจนจบยากมาก ยกเว้นยอมตัดจนเนื้อหา
  • ยอดขายแผ่น ปัจจุบันผลกระทบน้อยลงมาก แต่โดยรวมยังมีความหมาย
  • เป็นเรื่องที่มีโปรเจกต์อื่น เช่น เกมมือถือ งานคอนเสิร์ต ฟิกเกอร์ รองรับอยู่
  • ต้องมีมูฟวี่คั่นเวลาก่อน แถมเป็นมูฟวี่ภาคต่อ จะมีภาคต่อหรือไม่ รอหลังจากนั้น
  • รอประกาศในงานอีเวนต์ ที่อาจจะมีปีละครั้ง
  • อื่นๆ

บางเรื่องมีภาคต่อไวมาก โดยไม่ได้ตามกระแส แต่หลายเรื่องวางแผนแต่แรก ซึ่งมีเหตุผลซัพพอร์ตอยู่

  • พวกเรื่องขายตัวละคร ต้องการแนะนำให้ถึงตัวละครสำคัญ ซึ่งขายสินค้าที่เกี่ยวข้องแบบฟิกเกอร์, เพลง ได้
  • พวกเรื่องสตาร์ทช้า อาจต้องมี 2 ภาคเพื่อให้เข้าใจพล็อตเรื่องมากขึ้น
  • ดันภาคมูฟวี่ เกมมือถือ ที่ขายในช่วงนั้น

เงินทุนต่างประเทศ ช่วงปี 2015 – 2020

จากข้อมูลด้านธุรกิจอนิเมชั่นในญี่ปุ่น ยืนยันว่ากำไรจากการขายลิขสิทธิ์ต่างประเทศกลายเป็นช่องทางหลักไปแล้ว เม็ดเงินมหาศาล และแนวโน้มจะโตขึ้น

การเลือกแนวที่คนต่างชาติได้ โดยเฉพาะภาคต่อที่รู้จักดีทั่วโลก มีแนวโน้มที่สูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งสตรีมมิ่งหลายค่ายพยายามผูกขาดอนิเมะดังๆ เป็นของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด

แต่ อย่าเพิ่งดีใจไป มีข้อจำกัดหลายเรื่อง

  • เงินทุนไม่ได้ไร้ขีดจำกัด มีเพียงบางเรื่องเท่านั้นที่ได้รับสิทธิ์นี้ และแทบจะนับนิ้วได้
  • ไม่ใช่ทุกคนที่ดูอนิเมะลิขสิทธิ์เรื่องนั้นๆ ทำให้ View ภาคแรกน้อย จนไม่อยากทำต่อ
  • นิยมในต่างประเทศ จำกัดบางแนว พวกแนวเฉพาะกลุ่มมากๆ อาจไม่ได้รับการสนับสนุน (โมเอะ ไอดอล ฯลฯ)
  • อื่นๆ

เรื่องมักเข้าใจผิด เกี่ยวกับภาคต่อ

  • ไม่มีต่อ เพราะแค่อนิเมะโปรโมทมังงะ (นิยาย): ตรงข้ามครับ ทุกเรื่องสร้างมาเพื่อโปรโมทต้นฉบับ (ยกเว้นออริจินัล) หรือ โปรโมทสื่ออื่นๆ ที่ออกมาช่วงเดียวกัน กระแสดีก็ดันให้มีภาคต่อ มีทุนหนาหน่อยก็พวกชูเอย์ฉะที่พยายามดันจนจบ ไม่งั้นโดนด่าเละ ก็แค่นั้น
  • เคยมีซีซั่น 2 อาจมีต่ออีก: หลายเรื่องวางแผนทำ 2 ซีซั่นตั้งแต่เริ่มฉาย แต่ไม่ฉายต่อเนื่องจึงแบ่งเป็น 2 Cours เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มเวลาในการผลิต จึงนิยมฉายแบบ 12-13 ตอน เว้น 3 เดือน แล้วฉายต่อ โดยไม่ได้มาจากกระแส
  • อนิเมะภาคต่อ ดันยอดขายอีก: ความจริงได้ผลแค่ภาคแรก ภาคสองแทบไม่เห็น เป็นเหตุผลหลักที่อนิเมะส่วนใหญ่หมดสิทธิ์ทำต่อ ลุ้นทำภาคใหม่มากกว่า
  • อนิเมะเรื่อง …. โดนตัดจบ: เรียกไม่มีทุนทำต่อ หรือติดปัญหาบางอย่างมากกว่า แทบไม่มีเรื่องไหนแพลนทำยาวอยู่แล้ว ยกเว้นกระแสดีระหว่างฉาย หรือ ฉายจบ ถึงค่อยอนุมัติทำต่อ
  • Netflix ออกเงินทุนให้เยอะกว่าญี่ปุ่น: อนิเมะที่เห็นอยู่ มีทุนสร้างทุกเรื่องในระดับที่สมเหตุสมผล แทบไม่ต่างอะไรกัน แค่ช่วยให้บางแนวมีโอกาสทำอนิเมะมากขึ้น โดยเฉพาะพวกบู๊เลือดสาด ไซไฟ ที่ผลตอบรับแย่ในญี่ปุ่นแต่ยังดีในตะวันตก
  • โปรดิวเซอร์ออก ทำต่อไม่ได้: โปรดิวเซอร์อนิเมะ ผลน้อยกว่าเกม ซีรีส์ ภาพยนตร์เยอะ ตัวแทนมีถมไป ที่ผลกระทบชัดถึงคุณภาพจะเป็น ผู้กำกับ – คนเรียบเรียงบท – ดีไซน์ มากกว่า
  • จบแบบทิ้งปมไว้, เนื้อเรื่องยังไม่จบ, ทิ้งข้อความปริศนา = มีภาคต่อ: เกือบทุกเรื่องทำแบบนั้น แต่จากสถิติ น้อยมากที่จะได้ทำต่อ

ทิ้งท้ายแบบดาร์คๆ “อนิเมะยุคหลังๆ สร้างมาเพื่อโปรโมทอะไรบางอย่าง” เหมือนวิธีทำข่าวการตลาด PR & ไวรัล ราคาถูกที่สุด คุ้มสุด แต่มักได้ผลแค่ภาคแรก ดังนั้น การจะมีภาคต่อ ต้องมีผลกำไรมากพอถึงจะทำได้

แต่ถ้ามองในแง่ดี ไม่มีเรื่องผลกำไรเข้ามาเกี่ยวข้อง ตลาดอนิเมชั่นญี่ปุ่นก็จะไม่มีการพัฒนาจนเป็นแบบทุกวันนี้เช่นกัน